Wednesday, November 19, 2014

9:52 PM
FileMaker เองมีคุณสมบัติทำหน้าที่เป็นทั้ง Client และ Server ได้ในตัวเดียว แต่จะไปเทียบกับตัว Server  ตรงๆ ก็คงไม่ได้ เพราะมันรองรับจำนวน Connection ได้น้อยกว่า และยังมีอีกหลาย Function ที่ตัว Server ทำได้ดีกว่า

แต่ Server นั้น แพงมากมาย เลยนะจะบอกให้ ..  หากเราต้องการ share database ให้คนใน network เราซึ่งเป็น network เล็กๆ มีกันไม่กี่คนใช้งาน ตัว Filemaker Client เป็นคำตอบที่ดีครับ เพราะมันสามารถ Share ให้ใช้งานได้ทั้งผ่านโปรแกรม Filemaker ด้วยกันเอง และ/หรือ ผ่านทาง Web Browser

วันนี้ผมจะมาแนะนำวิธีการ Share การเข้าใช้งาน Database ผ่านทาง Web Browser นะครับ ข้อดีของการ Share แบบนี้คือ เราไม่จำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรม Filemaker ในเครื่องที่เรา Share ไปให้เลยครับ

วิธีการเป็นแบบนี้ (อ้างอิงโดยใช้งาน FileMaker Pro version 11 ครับ)

1. เครื่องที่จะทำหน้าที่ในการ Share ให้เครื่องอื่นเข้ามาใช้งาน ควรจะ Fix IP นะครับ เพื่อไม่ให้ ip เปลี่ยน ไม่งั้นต้องบอก ip ใหม่ให้กับเพื่อนๆทุกวันนะ ... จริงๆ ใช้ชื่อในการ share ก็ได้ แต่ไม่แน่นอนเท่า ip ส่วนการ fix ทำไงนั้น ถาม Google นะครับ ไม่งั้นยาว



2. เปิด Filemaker Pro (ต้องเป็น pro version นะครับ จึงจะมีคุณสมบัติในการ share แบบนี้) แล้วก็สร้างโปรแกรมอะไรให้เรียบร้อย (ผมเดาเอาว่า fix ip เรียบร้อยแล้วนะ) ตัวอย่างด้านบน ไม่มีอะไรนะครับ มี 2 field ให้ดูวิธีการ share เฉยๆ

3. ก่อนที่จะทำการ Share ให้ทำการเข้าไปตรวจสอบ Account ใน File --> Manage --> Security ก่อนนะครับ ในตัวอย่างข้างล่างผมทำการเปิดให้ Guest สามารถ login เข้ามาได้

4. จากนั้นไปที่ tab  Entended Privilages เราจะต้องทำการเลือกให้แต่ละ Account ว่ามีสิทธิ์ใช้งาน Database ผ่านทางไหนได้บ้าง ในตัวอย่างด้านล่าง ผมให้ Admin มีสิทธิ์เข้าใช้งานผ่านทางโปรแกรม Filemaker ส่วน Guest มีสิทธิ์เข้าได้ผ่านทาง Web อย่างเดียว เช่นกัน จากนั้นกด OK
 5. เมื่อกำหนดสิทธิ์เรียบร้อย เราก็พร้อมที่จะเข้าไปเปิดการ Share ผ่าน Web Browser ซึ่ง FileMaker เรียกว่า Instant Web Publishing ซึ่งวิธีการเปิด ก็ดูภาพข้างล่างนะครับ อย่างแรกก็ให้เลือกเป็น On แล้ว Filemaker จะทำการตั้งค่าสักครู่ เมื่อตั้งค่าถูกต้องก็จะแสดง URL ให้เราเห็น ให้สังเกตุตรงด้านท้ายของ  URL ที่เป็น :1234 นะครับ อันนี้เป็นการบังคับ port ที่ user จะเข้ามาใช้งาน ซึ่งถ้าเราไม่กำหนด มันจะเป็น port 80 แต่ในที่นี่ ผมตั้งเป็น port 1234 ครับ วิธีการตั้งอยู่ในข้อถัดไป

จากนั้นให้เราทำการเลือกชื่อโปรแกรมทางด้านซ้ายมือ (ตัวอย่างคือ Share) แล้วทางด้านขวาก็ให้เลือก เป็น Specify users by privilege set ซึ่ง จะทำให้ Guest เท่านั้นที่เข้ามาใช้งานได ตามที่อธิบายไว้ในข้อข้างบน เมื่อได้ url ได้แล้วก็ให้กด OK ครับ
 6. ถ้าท่านต้องการเปลี่ยน PORT ให้ url ซึ่งอาจจะเป็นด้วยเหตุผลของการที่ port 80 โปรแกรมอื่นเอาไปใช้งาน หรือต้องการให้มันเข้าได้ยาก คนที่ไม่ทราบจะไม่มีทางเข้ามาใช้งานได้เลย

วิธีการเปลี่ยน ก็ให้กดที่ปุ่ม Specify ของหัวข้อ Advanced Option นะครับ จะได้ตามรูปข้างล่าง ที่ต้องทำก็คือใส่หมายเลข port ที่ต้องการเข้าไปก็เท่านั้นเองครับ นอกนั้นไม่ต้องเปลี่ยนอะไร
 7. เมื่อเสร็จการ Share แล้ว ก็ให้บอกให้เพื่อนลองเปิด Browser แล้วก็ลองใส่ URL ที่เราได้จากการเปิด share ดู ในที่นี่ เป็น http://192.168.4.15:1234 นะครับ ของท่านต้องไม่เหมือนกันผมนะ หากระบบทำงานถูกต้อง มันจะเห็นหน้าให้ login ก็ให้เรากดที่ Guest แล้ว login เลย จะได้ list ของโปรแกรมที่เรา Share ปรากฏขึ้นมาดังรูปข้างล่าง
 8. เมื่อทำการกดที่ชื่อโปรแกรม มันก็จะพาเราเข้าสู่ฐานข้อมูลที่ Share เลย นอกนั้นก็เป็นเรื่องของ Script ที่ท่านจำเป็นจะต้องสร้างปุ่มให้ User กด เพื่อพาเขาไปหน้า Layout ที่ท่านต้องการ
การ Share ผ่าน Web Browser ก็มีเท่านี้แหละครับ นอกนั้นเป็นเรื่องของการ ออกแบบหน้าตาจอ และการเขียน Script เพื่อให้การทำงานผ่าน Web เป็นไปได้ด้วยความเรียบร้อย

ข้อดีของวิธีการนี้อีกหนึ่งอย่างก็คือ ภาษาไทย ทำงานถูกต้อง 100% ครับ ไม่เชื่อลองใส่ภาษาไทยเข้าไปสิ ..

หากใครลองทำแล้วติดขัดตรงไหน ก็ถามมาได้นะครับ ลองเล่นกันดูเนาะ

บทความอื่นๆ