Thursday, February 21, 2013

6:02 PM
6

มีเพื่อนสมาชิกต่างจังหวัด มาปรึกษาว่าอยากจะทำฐานข้อมูลแต่ว่ายังไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร ผมก็เลยขออนุญาตจากเจ้าของข้อมูล เพื่อจะแนะนำวิธีการสร้างฐานข้อมูลตามที่ต้องการไว้บน web เพื่อให้คนอื่นๆ ที่กำลังเริ่มต้นเหมือนกัน ได้อ่านด้วย

ข้อมูลดิบมีตามนี้นะครับ

ชื่องาน - การจัดทำฐานข้อมูลแมลงศัตรูมะพร้าว

ความต้องการในการใช้งาน - รวบรวมชนิดและปริมาณแมลงศัตรูมะพร้าวที่ระบาดในประเทศไทย เพื่อเป็นแนวทางในการป้องกันกำจัด เหมือนกับว่าต้องการเผยแพร่เมื่อมีคนสนใจค้นคว้า คล้ายๆ กับฐานข้อมูลพืช แต่ข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้ในฐานข้อมูลสามารถนำออกมาทำกราฟหรือแผนที่การแพร่ระบาดได้ 

ส่วนโครงสร้างของข้อมูลก็มีดังนี้ครับ

ชุดที่ 1 ชนิดข้อมูลแมลงศัตรูมะพร้าวที่พบในประเทศไทย
- ชื่อวิทยาศาสตร์
- ชื่อสามัญ (ภาษาอังกฤษ)
- ชื่ออื่นๆ
- วงศ์
- เขตแพร่กระจาย
- ฤดูกาลระบาด
- พืชอาหาร
- ลักษณะการทำลาย
- วงจรชีวิต/รูปร่างลักษณะทางชีววิทยา
- ศัตรูธรรมชาติ
- การป้องกันกำจัด
- งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
----------------------------------------------------------------------

ชุดที่ 2 ข้อมูลการสำรวจ
- ชื่อ นามสกุล
- หมู่บ้าน
- ตำบล
- อำเภอ
- จังหวัด
- พิกัด
- พื้นที่ปลูกพืช (ไร่)
- อายุพืช (ปี)
- ศัตรูพืชที่พบ
- การจัดการศัตรูพืช
- อัตราการปล่อยศัตรูธรรมชาติ
----------------------------------------------------------------------

ชุดที่ 3 ข้อมูลการระบาดศัตรูพืช (หนอนหัวดำ, แมลงดำหนามมะพร้าว)
อำเภอที่มีการระบาด (หัวหิน ปราณบุรี สามร้อยยอด กุยบุรี เมือง ทับสะแก บางสะพาน บางสะพานน้อย)
ข้อมูลที่ได้มาเป็นแบบรายเดือน ตั้งแต่ปี 2550
โดยมีข้อมูลดังนี้
- พื้นที่ทั้งหมด (ไร่)
- พื้นที่การระบาด (ไร่)
- พื้นที่การะบาดจำแนกตามความรุนแรง (ไร่)  - น้อย, ปานกลาง, รุนแรง
- พื้นที่เฝ้าระวัง (ไร่)
- อัตราการปล่อยศัตรูธรรมชาติ (ไร่)

----------------------------------------------------------------------

เท่าที่ดูแล้ว จะเห็นว่า ข้อมูลทั้ง 3 กลุ่ม ไม่มีความเกี่ยวข้องกันเลย ดังนั้น จึงแนะนำให้ทำแยกออกมาเป็น 3 Files เลยนะครับ แต่ถ้าเกี่ยวข้องกัน ก็จะแนะนำให้รวมกันเป็น File เดียว แต่ทำ 3 Tables (ลองอ่านดู post เก่าเรื่อง Table นะครับ)

ส่วนความต้องการอื่นๆ ก็มีเรื่องทำเป็น Network เพราะต้องการ share ให้คนอื่นๆ สามารถเข้ามาใช้งานได้ด้วย ตรงนี้พิจารณาการทำ Network ได้อย่างนี้

FileMaker Pro สามารถทำเป็น Network ได้ 2 กรณีคือ

- แบบ FileMaker Network
วิธีการนี้เหมาะสำหรับใช้งานหลายๆคน และต้องการใช้งานทุก Function ของโปรแกรม ที่สำคัญก็คือเรื่อง Format การพิมพ์และการทำรายงานครับ เครื่องในเครือข่ายทุกเครื่องจะต้องติดตั้งโปรแกรม FileMaker Pro

- แบบ Web Sharing
วิธีนี้เหมาะสำหรับการดูหรือป้อนข้อมูลอย่างเดียว การพิมพ์นั้นจะได้ format ที่ไม่ตรงตามความต้องงการ และจะใช้งาน function ที่ซับซ้อนของ FileMaker ไม่ได้ เนื่องจากบาง Function จะไม่ทำงานบน web ครับ แต่เฉพาะเครื่องที่ทำหน้าที่ Share เท่านั้น ที่จะติดตั้งโปรแกรม FileMaker นอกนั้น เครื่องอื่นๆ ไม่จำเป็นต้องมีโปรแกรม FileMaker ครับ เนื่องจากจะเข้าใช้งานโปรแกรมผ่านทาง Web Browser แทน

ซึ่งดูจากความต้องการของเพื่อนสมาชิกแล้ว คงต้องใช้งานเป็นแบบ FileMaker Network ครับ เพราะเน้นเรื่องการพิมพ์และการทำรายงาน จะได้ไม่มีปัญหาทีหลังและการแก้ไขทำได้ง่าย รวดเร็ว แต่ ทุกเครื่องต้องติดตั้ง FileMaker Pro นะครับ อันนี้ก็ว่ากันด้วยเรื่องงบประมาณในการจัดซื้อด้วย ในเบื้องต้นขณะที่ยังไม่เห็นผลของการทำงาน อาจจะใช้งานโปรแกรมที่ให้ทดลองฟรี 30 วันนะครับ แต่ถ้าต้องการลองให้เห็นผลนานกว่านั้น ก็รบกวนจัดหาโปรแกรมเองนะครับ แต่ท้ายที่สุดแล้ว หากมันทำงานได้ดีและใช้งานเป็นจริง เป็นจังแล้ว ผมก็ขอแนะนำให้ซื้อนะครับ มิฉะนั้นแล้วกรรมที่เราใช้งาน Software โดยไม่ถูกต้องจะกลับมาเล่นงานเราไม่ทางใด ก็ทางหนึ่ง เชื่อได้เลยครับ ผมลองมานานแล้วหล่ะ 555

เมื่อกำหนดทิศทางแล้ว ก็จะว่ากันต่อในตอนที่ 2 นะครับ

บทความอื่นๆ