Monday, December 3, 2012

6:29 PM
เพื่อนๆ สอบถามเข้ามาว่า การ Share FileMaker ออกสู่ Internet นั้นต้องทำอย่างไรบ้าง ?
File Maker Sharing

ก็อย่างที่ผมได้กล่าวไปแล้วในเรื่องการ Share Filemaker ภายในวง Lan ขั้นตอนนั้นทำเหมือนกันเด๊ะๆ เพียงแต่ขั้นตอนที่ทำให้เครื่องที่ Share Filemaker ออกสู่ Internet นั้น มันเป็นเรื่องของการปรับแต่งที่ Network ของเราครับ นั่นหมายความว่า ท่านจะต้องมีความรู้ในเรื่องของการปรับแต่อุปกรณ์ Network ด้วย

ในที่นี้ ผมเดาเอาว่า Office ของเพื่อนๆ คงไม่ใหญ่มากนะครับ เดาเอาว่า Internet ก็คงจะมี Link เดียว และก็มี Router ตัวเดียว สิ่งที่ท่านจะต้องทำหลังจาก Share Filemaker บน network ของท่านแล้ว ก็คือ ไปปรับแต่ง router ให้ดำเนินการ forward port tcp และ udp หมายเลข 5003 ให้ชี้มายัง เครื่องที่ Share FileMaker นั้น

เอาเป็นว่า ผมจะยกตัวอย่างขั้นตอนที่ต้องทำก็แล้วกันนะครับ ส่วนการปรับแต่งที่ Router นั้น ท่านจะต้องไปคุยกับคนที่รับผิดชอบเกี่ยวกับ Internet ใน Office ของท่านเองนะ

1. ทำการปรับแต่ง Router ให้ forward port 5003 ทั้ง TCP และ UDP ให้ชี้ไปยัง IP address ของเครื่องที่ท่านทำการ share filemaker (หมายความว่า เครื่องที่ share จะต้อง fix ip นะครับ ใช้เป็นแบบ dhcp ไม่ได้)

2. ไปเลือกใช้บริการ dynamic hosting ของ dyndns หรือ no-ip ก็ได้ แล้ว เลือกตั้งชื่อ server ให้เครื่องที่ท่าน share filemaker จากนั้นก็ download เอาตัวโปรแกรม ของเขามา

2. ทำการติดตั้งโปรแกรมของ dyndns หรือ no-ip ลงที่เครื่อง com ที่ share filemaker เพื่อให้คนที่อยู่บน internet สามารถรู้ชื่อของ server (เครื่องที่ share filemaker นั่นแหละ) ได้ โดยโปรแกรมจะทำหน้าที่คอย update ip  address ขา wan ของ router ให้ map กับชื่อ server ที่เราเลือกได้ เช่น

- ผมตั้งชื่อที่ dyndns เป็น myserver.dyndns.org  เมื่อติดตั้งโปรแกรมที่เครื่อง com ที่ share filemaker เสร็จแล้ว โปรแกรมก็จะคอย update หมายเลข ip address ของเราที่ router ให้เข้ากับชื่อ myserver.dyndns.org โดยอัตโนมัติ โดยเลข ip ของเราอาจจะเปลี่ยนทุกๆ ครั้งที่ปิด-เปิด router ใหม่ แต่ชื่อมันจะไม่เปลี่ยนแน่นอน

3. เมื่อทำขั้นตอนด้านบนเสร็จ ถ้าจะให้แน่นอน ก็ให้เพื่อนๆ ที่อยู่บน internet เปิดโปรแกรม filemaker แล้วเลือก file --> open remote จากนั้นก็นำเอาชื่อ myserevr.dyndns.org add เข้าไปใน favorite ถ้าทุกอย่างถูกต้อง เราก็จะเป็น file ที่ share ไว้ครับ

เรื่องก็มีเท่านี้ จะเห็นว่าไม่ได้เกี่ยวข้องกับ filemaker เท่าไร มันเป็นเรื่องของการปรับแต่งอุปกรณ์ network มากกว่า ซึ่งตรงนี้คงต้องอาศัยประสบการณ์ทาง IT บ้างนะครับ มันไม่ยากและก็ไม่ง่ายเท่าไร ต้องอาศัยความเข้าใจเรื่อง network หน่อยหน่ะครับ

อย่างไรแล้ว ติดปัญหาตรงไหน ก็ลองสอบถามมานะครับ ผมคาดว่าน่าจะเดาได้ว่าเป็นปัญหาอะไร

ขอบคุณที่ติดตามนะครับ

----------------------------

เพิ่มเติมให้นิด

-เข้าใจว่าถ้าทำตามที่แนะนำ แปลว่าเราต้องเปิดเครื่องที่ share filemaker ตลอดเวลา เพื่อที่จะสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ถูกต้องรึป่าวคะ

:  อันนี้ก็แล้วแต่ทางโน้นนะครับ จะปิด-เปิดเครื่อง server เป็นช่วงเวลาก็ได้ แต่ปกติ เขาเปิดตลอดเวลาหน่ะครับ ติด ups ให้เครื่อง com ที่ทำหน้าที่ share ด้วยนะครับ จะได้ไม่มีปัญหาเรื่องไฟฟ้า แต่ถ้าจะให้ถูกต้องอย่างที่สุด ก็คือ ให้ติดตั้ง filemaker ตัวที่ทำหน้าที่เป็น server เลย จะดีกว่าครับ เพราะมี function ในการ backup ด้วย ถ้าเลือกเครื่องได้ ก็ให้เลือกเอา mac mini มาทำ filemaker server นะครับ ดีที่สุด ของผมก็เป็น mac เปิดมาหลายปีแล้ว ยังไม่มีปัญหาเลย
-ถ้า ตอนนี้ที่ office มี website ที่ใช้บริการ web hosting อยู่ ไม่ทราบว่าเราสามารถนำ filemaker ไปฝากที่ web hosting ร่วมกับ website ได้หรือไม่ ถ้าทำได้รบกวนขอคำแนะนำด้วยค่ะ เนื่องจากสอบถามไปยัง web hosting แล้ว แต่เค้าไม่รู้จัก filemaker จึงไม่แน่ใจว่าต้องทำยังไงน่ะค่


: filemaker server ถ้าทำตามที่ผมแนะนำ ก็ไม่จำเป็นต้องเอาไปไว้ที่ web hosting หน่ะครับ แต่ปกติมันก็เอาไว้ให้เข้าถึงแบบ web site ไม่ได้อยู่แล้ว เพราะ filemaker เป็นโปรแกรมพิเศษต่างหาก ที่ทางเมืองไทย ไม่ค่อยจะมีคนรู้จักหรอกครับ มันดังในต่างประเทศโน่น ถ้าต้องการฝาก filemaker ไว้ที่ผู้ให้บริการ web hosting จริงๆ เราจะต้องเลือกบริการเป็นแบบ co-location เท่านั้นก็หมายถึงว่า จะต้องเช่า server ของเขา จะเป็นแบบ hardware ของจริง หรือ แบบ virtual ก็ได้ แล้วก็ติดตั้ง os ในเครื่องที่เราเช่า จากนั้นก็ติดตั้งโปรแกรม filemaker pro แล้วก็ share ตามปกติครับ

แต่ถ้าเป็นผม .. ผมจะเอาไว้ที่ office นั่นแหละ เพราะมันก็สามารถ share ให้ office สาขาอื่นเข้ามาใช้งานได้เหมือนกัน ถ้าพอมีงบก็แนะนำดังนี้

1. เครื่อง mac mini + fix ip
2 โปรแกรม filemaker server version 11 แต่ถ้าไม่ใช่ภาษาไทย ก็ version 12 เลยก็ดี
ข้อดี : รองรับ user ใช้งานพร้อมกันได้มาก , มีระบบ backup ข้อมูล , ทำลูกเล่นแบบ advance ได้ เช่น ตั้งเวลาส่ง mail หรือตั้งเวลาให้ทำ script ที่ต้องการได้

แต่ถ้าไม่มีงบ ก็ ...

1. เครื่อง com pc ธรรมดา + fix ip
2. ลงโปรแกรม filemaker แบบธรรมดา แล้วก็สั่ง share มันเสีย
ข้อเสีย : ใช้งานพร้อมกันได้น้อย , ต้องเปิด filemaker ไว้ตลอด , ถ้าเราทำงานอื่นเป็นเครื่องนี้ filemaker ก็อาจจะช้าลงได้นะครับ


เท่านี้แหละครับ นอกนั้นก็เป็นเรื่องการ set router อย่างที่ผมบอกไป ...

บทความอื่นๆ