มาคราวนี้เข้าโปรแกรมไปเลยก็แล้วกัน ขอข้ามขั้นตอนการ install program เพราะมันไม่มีอะไรซับซ้อนซ่อนเงื่อน install เสร็จก็ทำการ update ให้สามารถใช้งานภาษาไทยเสียนะขอรับ ขั้นตอนก็ปรากฏใน blog นี้เลย หาดูเลย
เมื่อเข้าโปรแกรมแล้ว filemaker จะถามว่าต้องการทำอะไร สร้างฐานข้อมูล หรือ เปิดฐานข้อมูลเก่า หรือจะเลือกสร้างใหม่จาก template
จริงๆ สร้างจาก template ที่เขามีมาให้แล้วก็ดีนะ เร็วดี แต่ออกจะเกินความต้องการไปหน่อย ดังนั้นสร้างเองดีกว่า ได้ดั่งใจดี ว่าแล้วก็เลือกที่ create database เลยก็แล้วกัน และก็เลือกสร้าง empty database
เมื่อเลือกแล้ว หน้าต่อไปมันก็จะถามว่า database ที่สร้างใหม่นี่จะให้ save ไว้ตรงไหน ผมก็เลือกแถว desktop ไว้ก่อน รอย้ายทีหลัง การตั้งชื่อ หากต้องการ share database นี้ให้คนอื่นใช้ อย่าใช้ภาษาไทย เพราะเวลา share ข้ามเครื่องแล้ว อาจจะมีปัญหาได้ กันไว้ก่อนดีกว่า เพราะการตั้งชื่อ file มีผลกระทบหลายอย่างนะ เดี๋ยวว่าให้ดู
ในตัวอย่างนั้น ตั้งชื่อภาษาไทย เพราะจะใช้เอง เลยยกตัวอย่างให้ดูว่า มันตั้งได้เหมือนกัน คราวนี้ไปดูสิ ว่าตั้งชื่อ file ภาษาไทยแล้ว เป็นไงบ้าง
ใน filemaker ตั้งแต่ version 7 เป็นต้นมา ความสามารถหนึ่งที่ผมชอบมาก ก็คือ การสร้าง หลายๆ table ใน file เดียวกัน หมายความว่าไงหน่ะหรือ ก็หมายความว่า เมื่อก่อนนั้น เราต้องสร้าง 1 file 1 table แล้วก็เอามาเชื่อมต่อกัน เช่น ฐานข้อมูลพนักงาน เชื่อมกันฐานข้อมูลของห้องพยาบาลเพื่อเก็บประวัติการเจ็บป่วย ใน version ต่ำกว่า 7 ก็ต้องสร้าง 2 file แล้วเอามาเชื่อมกัน แต่หลังจาก version 7 เราสามารถเอาทั้ง 2 files มาอยู่รวมกันใน file เดียวได้ โดยโครงสร้างทั้ง 2 file ที่มารวมกันนั้นจะเรียกชื่อใหม่ว่า table นั่นก็คือ file ใหม่จะประกอบด้วย 2 tables หน่ะ เข้าใจบ่ ?
เอ้ามาดูต่อ ... เมื่อ save file ได้แล้ว ขั้นต่อมามันก็จะสร้าง table ให้โดยอัติโนมัติ ดังภาพ แถมได้ชื่อเป็นชื่อเดียวกับ file อีก จะเข้าไปดูชื่อ table ได้ต้องกดที่ tab Tables นะ เพราะ default มันจะไปอยู่ที่ tab Fields
File Maker ไม่ได้ห้ามในการใช้ภาษาไทย แต่ในการเขียนโปรแกรมแล้ว มันอาจจะงงๆ ได้ ดังนั้น ผมจึงขอแนะนำว่า ในขั้นตอนของการเขียนโปรแกรมทั้งหมด ให้ใช้ชื่อเป็นภาษาอังกฤษจะดีกว่า แต่ถ้าใครจะใช้เป็นภาษาไทยเลย ก็ไม่ว่ากัน ทำได้ ทำได้ ลองทำดู ... อ้อ ตั้งแต่ verion 7 เป็นต้นมา filemaker pro support font unicode เท่านั้น ทำให้การใช้งานเราจะต้องมี font unicode อยู่ในเครื่องโดยเฉพาะภาษาไทย ให้ไปหา font unicode ได้ที่ www.f0nt.com (เอฟ ศูนย์ เอ็น ที) นะ
เมื่อตกลงว่าจะใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก ผมก็เลยเปลี่ยนชื่อ table ให้เป็น ภาษาอังกฤษเลย ตามรูป วิธีการก็ให้เลือกชื่อ table ก่อน จากนั้นก็พิมพ์ชื่อใหม่ แล้วกด change เท่านั้นแหละ
เมื่อได้ชื่อ table แล้ว ต่อไปก็ว่ากันด้วยเรื่องของ field เสียที ซึ่งเป็นระดับรากหญ้าของระบบฐานข้อมูลเลยนะนั่น ผิดถูกว่ากัน ที่ field นี่แหละ ดังนั้นมีกฏการตั้งชื่อ field หน่อยว่า
- ตั้งให้มันสื่อความหมายหน่อย เป็นคำๆ เช่น First Name แทนชื่อ Last Name แทนนามสกุลอะไรประมาณนี้
- ชื่อ field ห้ามขึ้นต้นด้วยเครื่องหมาย หรือ ตัวเลข เช่น / * $ & หรือ 0 - 9 ต้องขึ้นต้นด้วยพยัญชนะเท่านั้น แต่ใช้กับภาษาไทยไมได้แหะกฏนี้ เพราะเราตั้งชื่อ ขึ้นต้นด้วยสระ โ ได้หน่ะ วะ ฮ่า ฮ่า
- เลือก data type หรือ ชนิดของข้อมูลให้ถูกต้อง อันนี้สำคัญมาก จนต้องเปิดเป็นประเด็นย่อย
รูปข้างบน ผมยกตัวอย่างให้ดูว่า จะตั้งชื่อ field เป็นภาษาไทยก็ได้ แต่ไม่แนะนำ ให้ทำการเปลี่ยนเสียนะ .. มาดูกันเรื่อง data type ดีกว่า จากรูปบนเช่นเดียวกัน จะเห็นว่า มันจะมี type ของ data ให้เลือกอยู่ไม่กี่ชนิด ซึ่งก็คลอบคลุมแล้วหล่ะ
data type ใน filemaker pro สามารถจำแนก แจกแจงได้ดังรูปข้างบน อธิบายการใช้งานของ type แต่ละอย่างได้ดังนี้
Text : เป็นชนิดของข้อมูลที่เป็น ตัวอักษร ตัวเลข สัญลักษณ์ เป็นไปได้หมด แต่เอาไปคำนวณทางคณิตศาสตร์ไม่ได้ เพราะ ก + ข มันไม่ได้จำนวนออกมา แต่จะได้ผลลัพธ์เป็น กข แทน
Number : ชื่อก็บอกแล้วว่า ค่าที่เป็นไปได้คือ จำนวน 0 - 9 เท่านี้แหละ แต่จะกี่หลักนั้น อีกเรื่อง ไม่เกี่ยวกัน
Date : ก็เป็นชนิดของข้อมูลที่เป็น Date ไง วันที่หน่ะ วัน - เดือน - ปี ขึ้นอยู่กับว่า เรา set เครื่อง com เราให้ใช้ format อะไร บางทีอาจจะเป็น เดือน - วัน - ปี ก็ได้ อย่า งง อันนี้ filemaker ไม่เกี่ยว
Time : ก็เป็นชนิดข้อมูลที่เป็นเวลา ละเอียดยิบถึง 1/100 วินาที format ก็เป็น hh:mm:ss
Timestamp : อันนี้พิเศษหน่อย ตรงที่มันรวม วันที่กับเวลาไว้ด้วยกัน สารภาพว่า ยังไม่เคยใช้ data type ชนิดนี้อย่างเป็นเรื่องเป็นราวเสียที จึง no comment
Container : อันนี้เจ๋ง เป็นชนิดของข้อมูลที่เป็น รูป หรือ movie file ก็ได้ แต่ไม่แน่ใจว่า support กี่ format ไปหาอ่านเองก็แล้วกันเนาะ หรือเราจะ เอา file เสียงมาใส่ก็ได้ ... แจ่มดี ส่วนใหญ่ผมใช้กับรูปครับ รูปพนักงานนั้นแหละ
Calculation : ข้อมูลชนิดนี้ เป็นข้อมูลที่ต้องมีการคำนวณจากตัวแปรต่างๆ จึงจะได้ผลลัพธ์ออกมา ซึ่งจะว่ากันทีหลังนะ
Summary : เป็นชนิดของข้อมูลที่ใช้หาผลรวมครับ มีซ่อนอยู่ข้างในอีกหลายแบบให้เลือกใช้ ว่ากันทีหลังเช่นเดียวกัน